วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การจัดองค์ประกอบศิลป์

การจัดองค์ประกอบศิลป์


ที่มาของภาพ http://www.designdotexe.com/
 เรื่องการจัดองค์ประกอบศิลป์ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เป็นเรื่องของการนำองค์ประกอบต่างๆมาจัดวางรวมกันอย่างมีหลักมีเกณฑ์ แต่ก็อาจยืดหยุ่นได้บ้าง เพื่อให้ผลงานออกมาเกิดความสวยงาม ความลงตัว การจัดจะเน้นใฟนเรื่องสำคัญดังนี้
เอกภาพ(Unit) คือ การรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ไม่กระจัดกระจายไปคนละทิศทาง และเป็นส่วนที่แสดงเนื้อหาเรื่องราวอย่างชัดเจนด้วย การสร้างเอกภาพทำโดยวิธีสัมผัส ทับซ้อนและจัดกลุ่ม เพื่อให้รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
สมดุล(Balance) คือ การจัดลักษณะของภาพให้เกิดความพอดี ให้เกิดน้ำหนักสองข้างเท่ากัน แบ่งเป็น สองกลุ่ม คือ
1.แบบสองข้างเท่ากัน (Symmetrical) โดยวางภาพสอง ข้างเท่ากัน ส่วนใหญ่ปรากฏในงานจิตรกรรมไทย หรือตราสัญลักษณ์ต่างๆ
2.แบบสองข้างไม่เท่ากัน(Asymmetrical) โดยการนำองค์ประกอบศิลป์มาจัดวาง โดยสองข้างไม่จำเป็นต้องเหมือนกันได้ ดูแล้วรู้สึกว่าสมดุลกัน ใช้มากในงานจิตรกรรม เพราะความรู้สึกเคลื่อนที่ไม่ สงบเงียบเกินไป
จุดเด่นและการเน้น (Dominace & Emphasis) คือส่วนสำคัญของภาพที่ต้องการแสดง ไม่จำเป็นต้องอยู่ตรงกลางเพราะให้ความรู้สึกนิ่งเกินไป ควรวางไว้ในระยะหน้าหรือกลางและใช้การเน้นช่วย
ความกลมกลืนและความขัดแย้ง (Harmony & Contrast) ภาพที่งดงามจะต้องมีความกลมกลืนและนำเสนอเรื่องราวได้ดีดูแล้วไม่ขัดตา อาจใช้หลักต่างๆเช่น กลมกลืนด้วยสี รูปร่าง รูปทรง เส้น ฯ แต่ถ้ากลมกลืนมากอาจรู้สึกน่าเบื่อไม่ตื่นเต้น จึงมักใช้ความขัดแย้งมาช่วยในงานสนุกขึ้น โดยอัตราส่วน 80:20 เช่น กลมกลืน 80%มีส่วนขัดแย้งประมาณ 20%จะทำให้งานสมบูรณ์ขึ้น
จังหวะ(Rhythm) คือระยะในการจัดวางของภาพ,วัตถุ ช่วยความรู้สึกและอารมณ์ในภาพ ช่วยให้เกิดช่องไฟและความสมดุลของภาพได้